วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

รหัส ASCII
หัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (ETX - end of text) เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง
รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128 ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขร
รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง

8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ โซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกัน

     ตาราง ASCII




อ้างอิงข้อมูล

อ้างอิงข้อมูลรูป

*************************************************************************

รหัส Unicode

         เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว   UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัวซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ
Window NT ระบบปฏิบัติการUNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย

ตารางรหัส Unicode


อ้างอิงข้อมูล http://jantima-ssp.exteen.com/20080212/entry-6
อ้างอิงข้อมูลรูปภาพ
http://thaifont.info/wp-content/uploads/2011/02/thai-unicode-glyph500.jpg


*************************************************************************

SAKSUN PHROMCHUAY

แทนรหัส ASCII

S =  0101 0011                                                                   P=  0101 0000
A=  0100 0001                                                                   H= 0100 1000
K=  0100 1011                                                                   R= 0101 0010    
S=  0101 0011                                                                    O= 0100 1111
U= 0101 0101                                                                     M= 0100 1101
N= 0100 1110                                                                     C= 0100 0011                                                                    
Space\= 0010 0000                                                            H= 0100 1000
                                                                                                U= 0101 0101                           
                                                                                                A= 0100 0001                                                                    
                                                                                                Y= 0101 1001    

รวม

   01010011  01000001  01001011  01010011  01010101  01001110  00100000  01010000   01001000  01010010  01001111  01001101  01000011  01001000  01010101   01000001  01011001

**ใช้พื้นที่จัดเก็บ จำนวน 136 Bit หรือ 17 Byte ***


T   h   a   n   k         Y   o   u
__________________________________


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น