วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลงโปรดของผม



เพลง  : คำอวยพร
ศิลปิน : SPF

            เหตุผลที่ผมชอบเพลง อาจจะเป็นเพราะมันกำลังตรงกับชีวิตผมอยู่ตอนนี้ล่ะมั้ง แน่นอนว่าความรักนั้น อาจจะมีทั้งสมหวังและผิดหวัง แต่สำหรับบางคนถึงแม้ว่าตัวเองจะผิดหวังยังไง แต่อาจจะด้วยเพราะเหตุผลที่เขารักเธอล่ะมั้ง ถึงเเม้ว่าเราจะไมได้คบกันแต่เขาก็มีคำอวยพรบางประโยคที่อยากจะบอกเธอ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่มีโอกาสได้พูด แต่เขาอยากจะบอกความรู้สึกผ่านเพลง เพลงนี้ว่า อยากให้เธอเจอแต่คนที่สิ่งดีดี พบสิ่งที่ดีดี มีชีวิตตามสิ่งที่เธอต้องการ และขอให้เธอโชคดี 

G  O  O  D     L  U  C  K  ....   ^^






ขอขอบคุณคลิปวีดีโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=1DWka3ZqAHI

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต


       รัฐไทยต้องให้ความชัดเจนเรื่องการสอดส่องประชาชนบนไลน์และสื่อสังคมอื่น
    
                    จากกรณี พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) กล่าวถึงแผนการตรวจสอบการสื่อสารของประชาชนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ยูทูบ (YouTube) วอตซ์แอป (WhatsApp) และไลน์ (LINE) ซึ่ง พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวว่า ปอท.จะเลือกตรวจสอบข้อมูลการสื่อสารของบุคคลที่มีแนวโน้มจะกระทำการที่กระทบต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อย และอ้างว่าผู้ให้บริการ LINE ตอบรับยินดีให้ความร่วมมือ เครือข่ายพลเมืองเน็ตยืนยันว่า การติดต่อระหว่างบุคคลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นอยู่ภายใต้ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 35, 36 และ 45 ที่ว่าด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยไม่ถูกเปิดเผย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลไทยพยายามสอดส่องประชาชน เมื่อเดือนธันวาคม 2554 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้พูดถึงแผนการจัดซื้ออุปกรณ์ดักข้อมูลเพื่อดักข้อมูลที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
               จากแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีข้อกังวลและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
1. ปอท. ต้องให้ความชัดเจนว่า การขอข้อมูลที่ ปอท.กล่าวถึงนั้น มีข้อมูลอะไรบ้าง
              ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 8 ปอท.ไม่มีสิทธิในการดักฟังการสื่อสารของประชาชน การดักฟังจะทำได้ต่อเมื่อคดีดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสืบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา สำหรับคดีบางประเภทเท่านั้นเท่านั้น
เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีความสงสัยว่า การขอ ตรวจสอบข้อมูลการสนทนาของปอท. นั้นหมายถึงการ ดักฟัง หรือ การขอบันทึกการสนทนา (chat log) หรือ ข้อมูลผู้ใช้ (user’s data) ในกรณีที่เป็นการดักฟังนั้น เครือข่ายพลเมืองเน็ตเห็นว่า ปอท. ไม่มีสิทธิที่จะทำการดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 มาตรา 36 จะระบุว่า การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทําด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกันจะกระทํามิได้โดยมีข้อยกเว้นสำหรับเรื่องความมั่นคงและการรักษาศีลธรรมอันดี แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวสามารถตีความได้กว้างขวาง การอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงจึงต้องมีคำอธิบายที่ละเอียดและชัดเจน การเปิดโอกาสให้เกิดการดักฟังนั้นยังเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิประชาชนในด้านอื่นด้วย  ดังนั้นแม้จะมีการดักฟังซึ่งชอบด้วยกฎหมายก็ควรเป็นไปโดยระมัดระวังและใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

2. ผู้บริการการสื่อสารและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ควรปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้ โดยเฉพาะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายของไลน์ระบุข้อยกเว้นของการให้ข้อมูลแก่บุคคลที่สามไว้คือข้อหนึ่งคือ บริษัทจะไม่มอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการให้กับบุคคลที่สาม ยกเว้นในกรณีที่บริษัทได้รับคำร้องขอความร่วมมือจากสถาบันของรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น หรือบุคคล หรือผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ และการให้ผู้ใช้ยินยอมก่อนจะเป็นการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะเดียวกันก็ได้ระบุไว้ในหน้าความช่วยเหลือต่อคำถามที่ว่าบุคคลที่สามสามารถ แอบดูเนื้อหาของการสนทนาได้หรือไม่ว่า ไม่ได้ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในการสนทนาไม่สามารถเห็นสิ่งที่คุณพิมพ์ได้ ไลน์ปลอดภัย ในประเทศไทย ไลน์เป็นที่นิยมมาก มีผู้ใช้ในประเทศไทยมากกว่าสิบห้าล้านคน เครือข่ายพลเมืองเน็ตเรียกร้องให้บริษัท Naver Japan ผู้ให้บริการไลน์ ปกป้องสิทธิและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ชาวไทย และต้องไม่ให้ข้อมูลหรือบันทึกการสนทนาของผู้ใช้ต่อรัฐไทยโดยไม่ทำตามกระบวนการทางกฎหมาย

3. ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินการตามที่ระบุในกฎหมาย และหยุดการ ขอความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการจากผู้ให้บริการ วัฒนธรรมการ ขอความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการจากผู้ให้บริการ
 ส่งผลเสียในทางปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากหลักฐานการขอความร่วมมือและข้อมูลที่ได้ อาจไม่ถูกจัดเก็บในสารบบ ทำให้ประชาชนยุ่งยากขึ้นในการใช้สิทธิขอข้อมูลตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐ เปิดโอกาสให้เกิดการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล กรณีของบริษัท Naver นั้น ผู้ให้บริการอยู่ในประเทศญี่ปุ่นและไม่ได้หน้าที่ต้องตอบสนองต่อกฎหมายไทย ซึ่งปอท.อาจเลือกวิธีขอความร่วมมือ แทนการใช้คำสั่งศาล เครือข่ายพลเมืองเน็ตเห็นว่า เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ปอท.ต้องใช้กระบวนการอย่างเป็นทางการ และหยุดขอความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ

4. ตำรวจและรัฐบาลไทย ต้องหยุดการกระทำที่ทำให้เกิดความกลัวในหมู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งหยุดการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างพร่ำเพรื่อ
 เครือข่ายพลเมืองเน็ตมองว่า การะกระทำของรัฐบาล ทั้งการให้ข่าวว่าจะทำ หรือการกระทำจริงๆ ล้วนทำให้เกิดผลเสียต่อบรรยากาศโดยรวมของกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้เน็ตตกอยู่ในความกลัวและความไม่แน่ใจ รัฐบาลควรหยุดการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อย่างพร่ำเพื่อและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิม จากสถิติจะเห็นได้ว่า คดีส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แต่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทหรือการปล่อยข่าวลือบนอินเทอร์เน็ต ที่ล้วนมีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว
5. เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีข้อเสนอแนะในการรับมือกับข่าวลือซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือรัฐบาล
              มีวิธีการอันเป็นสากลมากมายในการรับมือกับข่าวลือ โดยไม่ต้องใช้มาตราการอันกระทบต่อสิทธิเสรีภาพหรือทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัว เช่น การชี้แจงข้อมูลตามความเป็นจริงต่อสาธารณะ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยควรเคารพความสามารถในการพิจารณาของประชาชน แทนที่จะใช้มาตราการสอดส่องที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิ
อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางสังคมที่เราทุกคนอยู่ร่วมกัน ภาครัฐ ผู้ให้บริการ และพลเมืองเน็ตต้องมีบทบาทร่วมกันในการรักษาพื้นที่นี้เพื่อประโยชน์สาธารณะ บนพื้นฐานของการรักษาสิทธิพลเมืองและปกป้องสิทธิมนุษยชน การกระทำที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนก ไม่ปลอดภัย ไม่เป็นส่วนตัว จะส่งผลเสียทางเศรษฐกิจ และกระทบกิจวัตรประจำวันของผู้คนที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น


          




                   
                                                    


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Moore's law

 Moore's law 

Moore's law คืออะไร

                กฏของมัวร์ หรือ Moore's   law  คือ กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี  Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel  ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยํา อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม semiconductor  นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้ moore's law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของ ทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้นMoore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไปการก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน
                   กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์(Moore’s law) ขึ้น  ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม



กฎของมัวร์ (Moore's Law)   

            ในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งทีประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ

             พ.ศ. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง  ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม

             การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบเทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์
    
               คําว่า “กฎของมัวร์” นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์   Caltech   นามว่า    Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965  ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่ขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

รหัส ASCII
หัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (ETX - end of text) เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง
รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128 ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขร
รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง

8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ โซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกัน

     ตาราง ASCII




อ้างอิงข้อมูล

อ้างอิงข้อมูลรูป

*************************************************************************

รหัส Unicode

         เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว   UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัวซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ
Window NT ระบบปฏิบัติการUNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย

ตารางรหัส Unicode


อ้างอิงข้อมูล http://jantima-ssp.exteen.com/20080212/entry-6
อ้างอิงข้อมูลรูปภาพ
http://thaifont.info/wp-content/uploads/2011/02/thai-unicode-glyph500.jpg


*************************************************************************

SAKSUN PHROMCHUAY

แทนรหัส ASCII

S =  0101 0011                                                                   P=  0101 0000
A=  0100 0001                                                                   H= 0100 1000
K=  0100 1011                                                                   R= 0101 0010    
S=  0101 0011                                                                    O= 0100 1111
U= 0101 0101                                                                     M= 0100 1101
N= 0100 1110                                                                     C= 0100 0011                                                                    
Space\= 0010 0000                                                            H= 0100 1000
                                                                                                U= 0101 0101                           
                                                                                                A= 0100 0001                                                                    
                                                                                                Y= 0101 1001    

รวม

   01010011  01000001  01001011  01010011  01010101  01001110  00100000  01010000   01001000  01010010  01001111  01001101  01000011  01001000  01010101   01000001  01011001

**ใช้พื้นที่จัดเก็บ จำนวน 136 Bit หรือ 17 Byte ***


T   h   a   n   k         Y   o   u
__________________________________


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

 ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้น แต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ หรือพาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์


สำหรับบิตตรวจสอบ จะมีวิธีตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
      
1. การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
      2. การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)

ตัวอย่าง:  บิตตรวจสอบ Parity Bit


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ยุคต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5575ยุค ทั้งหมด 5 ยุค
    
 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

     คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 เริ่มจากเครื่อง UNIVAC I เป็นต้นมา ซึ่งเครื่อง UNIVAC I นี้ เอ็คเคิร์ตและมอชลีได้เริ่มโครงการสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1946 ณ มหาวิทยาลัยเพนซิวาเนีย โดยสร้างสำเร็จและเผยสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1951 เครื่อง UNIVAC I เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่นำมาใช้กับงานด้านธุรกิจเมื่อปี ค.ศ. 1954 โดยบริษัท General Electric (GE)


     คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

     ในปี ค.. 1947 นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์เบลล์แล็บได้ค้นพบอุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ เพื่อนใช้ทดแทนหลอดสุญญากาศ คุณสมบัติของทรานซิสเตอร์คือเป็นสวิตซ์ที่มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ประมวลผลรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหลอดสูญญากาศ ต่อมาในปี ค.. 1958 บริษัท IBM ได้ใช้ทรานซิสเตอร์ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 รุ่นด้วยกัน คือ IBM-7090 และ IBM-7070 และต่อมาในปี ค.ศ.1959 บริษัท IBM ก็ได้สร้างเครี่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งคือ IBM-1401 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ลำดับที่ 3  คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 ส่วนหน่วยความจำหลักที่ใช้ในยุคนี้ก็คือวงแหวนแม่เหล็กและใช้บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็กเป้นหน่วยความจำสำรอง
   
  คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
    

  ในระหว่างปี ค.ศ. 1960 ได้มีการค้นพบ เทคโนโลยีโซลิดสเตน โดยที่โซลิตสเตตเป็นการรวมของทรานซิสเตอร์ ไดโอด และรีจิสเตอร์ ลงในชิปเดี่ยวบนซิลิคอม ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยโลหะขนาดเล็กเพื่อใช้สร้างเป็นวงจรชนิดต่างๆ โดยวงจรดังกล่าวที่ได้สร้างจากเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ นี้เรียกว่า ไอซี และบริษัท IBM ก็ได้สร้างเครื่อง System 360 ซึ่งเป็นเครื่อง    ที่ใช้ไอซี จำทำให้เครื่องคตอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและเป็นที่มาของเครื่องมิมิคอมพิวเตอร์
     


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
      ในกลางปี ค.ศ. 1970 บริษัทอินเทลได้ค้นพบวิธีการนำทรานซิสเตอร์หลายพันตัวบรรจุลงในชิปซิลิคอน ซึ่งเรียกว่าเทคโนโลยี LSIและต่อมาในปี ค.ศ.1975 คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ไม่โครโปรเซสเซอร์ 8080 ได้สร้างขึ้นภายในชื่อว่า Altair8800 ซึ้งเป็นไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรก
    

 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
      ในปี ค.ศ. 1979 บริษัทโมโตโรลา ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ รุ่น MC68000 ที่บรรจุจำนวน ทรานซิสเตอร์ได้ถึง 68,000 ชิ้น และไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายได้ใช้ชิปดังกล่าวเป็นตัวประมวลผล
เทคโนโลยีในยุคที่ 5 จัดเป็นยุคปัจจุบันที่ใช้ความสามารถของเทคโนโยลีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานด้านฐานความรู้ ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบปัญญาประดิษฐ์