รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode
รหัส
ASCII
รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ
พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American
Standards Association) ภายหลังกลายเป็น
สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute :
ANSI) ในปี ค.ศ. 1969
โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33
ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ
เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and
line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (ETX - end
of text) เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้
(printable character) ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character
map) ด้านล่าง
รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ
ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว
(8 บิต) และเรียกใหม่ว่าแอสกีแบบขยาย อักขระที่เพิ่มมา 128
ตัวใช้สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น
ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ
โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage)
โดยอักขระ 128 ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ
มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขร
รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก
จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data
Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน
เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง
8
หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8
บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ โซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกัน
ตาราง ASCII
อ้างอิงข้อมูล
อ้างอิงข้อมูลรูป
*************************************************************************
รหัส Unicode
เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8
บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด
โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น
ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต
จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัวซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป
รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode
มีใช้ในระบบปฏิบัติการ
Window NT ระบบปฏิบัติการUNIX
บางรุ่น
รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA
ด้วย
ตารางรหัส Unicode
*************************************************************************
SAKSUN PHROMCHUAY
แทนรหัส ASCII
S = 0101 0011 P= 0101 0000
A=
0100 0001 H=
0100 1000
K= 0100 1011 R=
0101 0010
S= 0101 0011 O=
0100 1111
U= 0101 0101 M=
0100 1101
N= 0100 1110 C= 0100 0011
Space\= 0010 0000 H= 0100 1000
U= 0101 0101
A=
0100 0001
Y= 0101 1001
รวม
01010011 01000001 01001011 01010011 01010101 01001110 00100000 01010000 01001000 01010010 01001111 01001101 01000011 01001000 01010101 01000001 01011001
*** ใช้พื้นที่จัดเก็บ จำนวน 136 Bit หรือ 17 Byte ***
T h a n k Y o u
__________________________________